หลักสูตร


รายละเอียดของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
หลักสูตรใหม่ พ.. 2555
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา            :  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา      :  คณะศิลปศาสตร์/ สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก

ข้อมูลทั่วไป
1รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 0235  
ภาษาไทย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Mekong Region Languages and Cultures

2ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง)
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (ภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Bachelor of Arts (Mekong Region Languages and Cultures)
ชื่อย่อ : B.A. (Mekong Region Languages and Cultures)

3วิชาเอก
     3.1 ภาษาและวัฒนธรรมไทย (Thai Language and Culture)
     3.2 ภาษาและวัฒนธรรมลาว (Lao Language and Culture)
     3.3 ภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม (Vietnamese Language and Culture)
     3.4 ภาษาและวัฒนธรรมกัมพูชา (Cambodian Language and Culture)
     3.5 ภาษาและวัฒนธรรมจีน (Chinese Language and Culture)
                  
4จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า  136 หน่วยกิต

5รูปแบบของหลักสูตร
    5.1 รูปแบบ หลักสูตรระดับที่ 2 ปริญญาตรี ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
    5.2 ภาษาที่ใช้ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    5.3 การรับเข้าศึกษา : รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศ
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น :
          ก. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่
                    1) National University of Laos
          ข. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้แก่
                   1) Hue College of Foreign Languages
                   2) Hue University's College of Education
                   3) Danang College of Foreign Language
                   4) Can Tho University
                   5) College of Social Sciences and Humanities,
                      Vietnam National University – Hanoi
                   6) College of Social Sciences and Humanities,
                      Vietnam National University - Ho Chi Minh City
          ค. ราชอาณาจักรกัมพูชา ได้แก่
                    1) Royal University of Phnom Penh
          ง. สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่
                   1) Yunnan Nationalities University
                   2) Kunming University
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว  

6.  สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร :
6.1 เป็นหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555
6.2 เวลาที่เริ่มใช้หลักสูตร : ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2555
6.3 คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัย พิจารณาหลักสูตร
ในการประชุมครั้งที่ 4/2554 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 
6.4 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่    /2554  เมื่อวันที่

7.  ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน : พ.ศ. 2557 

8.  อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา : นักวิชาการด้านภูมิภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา นักการทูต มัคคุเทศก์ นักสื่อสารมวลชน นักหนังสือพิมพ์ นักแปล ล่าม เป็นต้น

9.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
1. อาจารย์มิตต ทรัพย์ผุด
2. รองศาสตราจารย์ ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม
4. อาจารย์ ดร.รุจิวรรณ เหล่าไพโรจน์
5. อาจารย์นงลักษณ์ สูงสุมาลย์

10.   สถานที่จัดการเรียนการสอน :
      - คณะศิลปศาสตร์  และอาคารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ  อุบลราชธานี

11.   สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นในการวางแผนหลักสูตร
บริบทของประเทศไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมภายในช่วงระยะเวลา
5 ปีนับจากนี้ จะดำเนินไปตามกรอบความร่วมมือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวคือ ความเป็นเอกภาพของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations: ASEAN)
ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 9 (9th ASEAN Summit) เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ประเทศสมาชิกได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) โดยจะประกอบด้วย 3 เสาหลัก (pillars) ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) และวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนอย่างเป็นทางการส่งผลให้การดำเนินงานของอาเซียนเป็นไปภายใต้กฎหมายเดียวกันและปูทางไปสู่การสร้างตลาดเดียวกันในภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2558
ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีการศึกษาอาเซียนครั้งที่ 46 (ASEAN Education Ministers Meeting: ASED) ณ ประเทศบรูไน รุสซาลาม ที่ประชุมได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ 9 ประการ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558  ดังนี้
1. การสร้างความตระหนักรู้ของประชากรในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
2. ความร่วมมือในการพัฒนาภาษา โดยเฉพาะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง
3. การแลกเปลี่ยนครูและนักเรียน
4. ส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษาของกลุ่มประเทศอาเซียน
5. ส่งเสริมความเป็นเลิศของบุคลากรประเทศภาคีในกลุ่มอาเซียน เพื่อการแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันในการพัฒนาศักยภาพของประชาคมอาเซียนให้สามารถแข่งขันกับประชาคมโลกต่อไปได้
6. ธำรงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชากรในแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะการดูแลภาษาแม่ของแต่ละประเทศให้มีความเข้มแข็ง ถึงแม้ว่าจะใช้ภาษาอังกฤษก็ตาม
7. การเชื่อมโยงด้านวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน
8. ร่วมมือแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาในแต่ละระดับ
9. เชื่อมโยงการประชุมรัฐมนตรีการศึกษาอาเซียนและรัฐมนตรีการศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทุก 2 ปี
สรุปได้ว่า ความร่วมมือภายในภูมิภาคอาเซียนได้เป็นกรอบสำคัญในการพัฒนาทุกด้านของประเทศสมาชิกทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ดังนั้น แนวทางการพัฒนาการศึกษาภายในประเทศไทยย่อมต้องดำเนินการอย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของบริบทภูมิภาคเช่นเดียวกัน

      11.1  สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
                   ด้วยปัจจัยทางโครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่ คุณภาพประชากรทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญมากประเทศหนึ่งในประชาคมอาเซียน และเมื่อโครงการเอกภาพประชาคมอาเซียนมาถึงในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สำคัญมากของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (The Mekong Region) ซึ่งเมื่อพิจารณาทางภูมิศาสตร์วัฒนธรรม จีนตอนใต้ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดของประเทศไทย 
                   11.1.1 นอกจากประเทศไทยจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญของโลกและเอเชียแล้ว ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมจึงทำให้ประเทศไทยมีเสน่ห์ดึงดูดในฐานะศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมที่มีอยู่ภายในประเทศและภูมิภาคนี้
                   11.1.2 รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ที่อาศัยองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาในปัจจุบันก็คือ องค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการศึกษาค้นคว้าในวงจำกัดทั้งระเบียบวิธี บุคลากร และงบประมาณ นอกจากนี้ เป้าหมายรองของเศรษฐกิจสร้างสรรค์คือการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกลุ่มคนต่างวัฒนธรรมด้วย
                   11.1.3 ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในทศวรรษหน้ายังอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมบริการอย่างต่อเนื่อง รวมถึง การหาแนวทางสร้างสรรค์สาขาอาชีพใหม่ๆ ที่อยู่บนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม อาทิ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมดนตรี ศิลปะ และศิลปะการแสดง อุตสาหกรรมการจัดแสดงสื่อการเรียนรู้ (พิพิธภัณฑ์ อุทยานประวัติศาสตร์ ห้องแสดงศิลปะ ห้องสมุด) เป็นต้น
                   เราอาจกล่าวได้ว่า บริบทของเอกภาพประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558 ทำให้ต้องสร้างบุคลากรที่สามารถตอบสนองความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่กำลังขยายสู่ระดับภูมิภาค ดังนั้น การผลิตสินค้าทุกประเภทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ต้องคำนึงถึงผู้บริโภคที่อยู่ในประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคลุ่มน้ำโขงซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างแนบแน่น           

      11.2  สถานการณ์หรือการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม
                    11.2.1 แนวโน้มการขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อประชาชนภูมิภาคลุ่มน้ำโขงใน 2 ลักษณะ กล่าวคือ หนึ่ง ในฐานะผู้รับผลกระทบโดยตรงต่อการแพร่กระจายของวัฒนธรรมภูมิภาค และสองในฐานะผู้สร้างสรรค์สินค้าและแรงงานฝีมือที่มีตลาดในระดับภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม
                   11.2.2 แนวโน้มการขัดแย้งระหว่างคนกับความเป็นท้องถิ่นนิยมเริ่มมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เพราะการขาดมิติของความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม และความเข้าใจพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในระดับภูมิภาค
                   11.2.3 แนวโน้มความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้เกิดโอกาสและปัญหาในเวลาเดียวกัน การส่งเสริมความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะนำมาสู่การเคารพซึ่งกันและกันในความแตกต่างทางความคิดและกายภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างยืนในบริบทของสันติภาพ
                  
12. ผลกระทบจากข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
      12.1  การพัฒนาหลักสูตร
                   นโยบายเอกภาพประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558 เป็นกรอบสำคัญที่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะทุกหน่วยงานทางการศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและผลักดันให้การศึกษาทุกระดับได้พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม
                   การเปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะเป็นการเปิดโอกาสให้ทั้งกับคนไทยและชาวต่างประเทศได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของกันและกันซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนพลเมืองคุณภาพของอาเซียนที่อาศัยอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความเข้าใจ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
12.2  ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
หลักสูตรสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมุ่งผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยในด้านการเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาค
ลุ่มแม่น้ำโขงและอีสานใต้ 

13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของมหาวิทยาลัย
      หลักสูตรนี้มีรายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้นักศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เรียนจำนวน  31 รายวิชา  และมีการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อ
ความต้องการของนักศึกษาในหลักสูตรอื่น ได้แก่
     - หมวดวิชาเฉพาะ
          ก. กลุ่มวิชาวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง      จำนวน 14 รายวิชา
          ข. กลุ่มวิชาภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง           จำนวน 30 รายวิชา
             (ภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับชาวต่างประเทศ ลาว เวียดนาม เขมร)
13.2.1 มีการประชุมหลักสูตรอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งเพื่อมีวาระในการอธิบายการบริหารจัดการ เช่น การประสานงาน การประชุมอาจารย์ การจัดตารางการเรียนการสอน การประเมินผลการเรียน การจัดโครงการในรายวิชา/ หลักสูตร
          13.2.2 มีการประชุมระดับสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออกตามวาระการประชุมคณะกรรมการประจำคณะศิลปศาสตร์ เพื่อกำหนดวาระในการอธิบายการบริหารจัดการในเชิงนโยบายของฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยและคณะศิลปศาสตร์ร่วมกัน

หลักสูตร
        หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นหลักสูตรแบบศึกษาเต็มเวลา ใช้ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา 4 ปีการศึกษา ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษา

     3.1 หลักสูตร

        3.1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต ดังนี้

        3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร

1.   หมวดวิชาศึกษาทั่วไป        
ไม่น้อยกว่า
31
หน่วยกิต
1.1  กลุ่มวิชาภาษา
จำนวน
15
หน่วยกิต
1.2  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์
ไม่น้อยกว่า
9
หน่วยกิต
1.3  กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
      สังคมศาสตร์และพลศึกษา
ไม่น้อยกว่า
7
หน่วยกิต
2.  หมวดวิชาเฉพาะ
ไม่น้อยกว่า
99
หน่วยกิต
      2.1  กลุ่มวิชาเอกบังคับ
จำนวน
27
หน่วยกิต
      2.2  กลุ่มวิชาเอกบังคับเลือก                                 
จำนวน
36
หน่วยกิต
      2.3  กลุ่มวิชาเอกเลือก                                 
ไม่น้อยกว่า
18
หน่วยกิต
      2.4  กลุ่มวิชาโท
ไม่น้อยกว่า
18
หน่วยกิต
3.  หมวดวิชาเลือกเสรี
ไม่น้อยกว่า
6
หน่วยกิต

        

         3.1.3  รายวิชาในหลักสูตร   ให้อธิบายความหมายของรหัสวิชา

       1)  ความหมายของเลขประจำวิชา
ความหมายของเลขรหัสประจำวิชาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วยเลข  7 หลัก ตามประกาศของมหาวิทยาลัย มีความหมาย ดังนี้

ตัวที่หนึ่งและสอง หมายถึง คณะ หลักสูตร
14 หมายถึง คณะศิลปศาสตร์
ตัวที่สามและสี่ หมายถึง กลุ่มรายวิชา
11 หมายถึง ภาษาไทย
12 หมายถึง ภาษาลาว
13 หมายถึง ภาษาเวียดนาม
14 หมายถึง ภาษาเขมร
15 หมายถึง ภาษาจีน
21 หมายถึง ภาษาอังกฤษ
24 หมายถึง ภาษาฝรั่งเศส
31 หมายถึง ศาสนาและปรัชญา
32 หมายถึง ประวัติศาสตร์
33 หมายถึง ภูมิศาสตร์
34 หมายถึง โบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ
41 หมายถึง สังคมวิทยา
42 หมายถึง มานุษยวิทยา
44 หมายถึง รัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
47 หมายถึง นิเทศศาสตร์
51 หมายถึง พัฒนาสังคม
54 หมายถึง ภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ตัวที่ห้า หมายถึง ระดับของวิชาหรือระดับชั้นปี
1 และ 2 หมายถึง วิชาชั้นต้นของระดับปริญญาตรี
3 และ 4 หมายถึง วิชาชั้นสูงของระดับปริญญาตรีที่มีระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี
5 และ 6 หมายถึง วิชาชั้นสูงของระดับปริญญาตรีที่มีระยะเวลาศึกษามากกว่า 4 ปี
7, 8, และ 9 หมายถึง วิชาระดับบัณฑิตศึกษา

ตัวที่หก หมายถึง หมวดวิชาหรือกลุ่มวิชา
0 หมายถึง วิชาทั่วไป วิชาสหสาขาวิชา ภาษาเพื่อวิชาชีพพัฒนศึกษา
1 หมายถึง ภาษาศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ วรรณคดี
2 หมายถึง สื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์
3 หมายถึง ปรัชญาและศาสนา
4 หมายถึง ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ
5 หมายถึง ภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
6 หมายถึง ดนตรี ศิลปะการแสดง ศิลปกรรม
7 หมายถึง สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เพศสภาวะศึกษา
8 หมายถึง เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
9 หมายถึง วิธีวิจัย ประเด็นศึกษา การศึกษาอิสระ

ตัวที่เจ็ด หมายถึง ลำดับที่ของวิชา

2)  รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

                     หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

    1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 31 หน่วยกิต
    1.1 กลุ่มวิชาภาษา จำนวน 15 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มภาษาไทย จำนวน 3 หน่วยกิต

1411 101 ภาษาไทยกับการสื่อสาร (Thai Language and Communication)                   3(3-0-6)

                   1.2 กลุ่มภาษาอังกฤษ                                 จำนวน           12 หน่วยกิต

1421 102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 (Foundation English I)                                        3(3-0-6)

1421 103 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 (Foundation English II)                                       3(3-0-6)

1421 208 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (Academic English)                                         3(3-0-6)

1421 406 ภาษาอังกฤษสำหรับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์                                3(3-0-6)

                (English for Humanities and Social Sciences)

1.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์                                  ไม่น้อยกว่า       9 หน่วยกิต

1101 141 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Sciences  in Daily Life)                               3(3-0-6)

1101 146 ความหลากหลายทางชีวภาพกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ                      3(3-0-6)

            (Biodiversity and Climate Change)

1101 147 สิ่งแวดล้อมกับชีวิต (Environment and Life)                                           3(3-0-6)

1101 148 ชีวิตกับจุลินทรีย์ (Life and Microorganisms)                                          3(3-0-6)

1101 109 วิทยาศาสตร์กายภาพในชีวิตประจำวัน                                                  3(3-0-6)

            (Physical Science in Daily Life)

1103 128 การจัดการเครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน                                               3(3-0-6)

 (Household  Electrical Appliance in Daily Life)        

1104 113 คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน                                           3(3-0-6)

            (Mathematics and Computers in Daily Life)

1200 108 อาหารเพื่อชีวิต (Food for Life)                                                                   3(3-0-6)

1502 100 การดูแลสุขภาพตามวัย(Age - appropriated Health  Care)                         3(3-0-6)

1503 100 ยาในชีวิตประจำวัน (Drugs in Daily Life)                                              3(3-0-6)

1503 102 สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม (Herbs for Health and Beauty)                 3(3-0-6)



              1.3 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และพลศึกษา   ไม่น้อยกว่า       7 หน่วยกิต

                   1.3.1 กลุ่มมนุษยศาสตร์                               ไม่น้อยกว่า       3 หน่วยกิต

1431 101 มนุษย์กับสุนทรียภาพ (Man and Aesthetics)                                          3(3-0-6)

1431 102 ปรัชญากับชีวิตและสังคม (Philosophy in Life and Society)                         3(3-0-6)

1431 110 มนุษย์กับการใช้เหตุผล (Man and Reasoning)                                         3(3-0-6)

1432 100 มนุษย์กับอารยธรรม (Man and Civilization)                                          3(3-0-6)

1432 101 วัฒนธรรมไทย (Thai Culture)                                                           3(3-0-6)

1435 100 ดนตรีกับชีวิต (Music and Life)                                                         3(3-0-6)

1438 100 ศิลปะเพื่อการพัฒนาอารมณ์ (Arts for Emotional Refinement)                     3(3-0-6)

                   1.3.2 กลุ่มสังคมศาสตร์                                ไม่น้อยกว่า       3 หน่วยกิต

1441 100 มนุษย์กับสังคม (Man and Society)                                                     3(3-0-6)

1442 100 วัฒนธรรมร่วมสมัย (Contemporary Culture)                                         3(3-0-6)

1443 200 กฎหมายกับสังคม  (Law and Society)                                                 3(3-0-6)

1445 100 พลวัตสังคมไทย (Dynamics of Thai Society)                                          3(3-0-6)

1446 101 ศิลปะการดำเนินชีวิต (Art of Living)                                                    3(3-0-6)

1447 200 มนุษย์กับการสื่อสาร (Man and Communication)                                    3(3-0-6)

1708 200 พุทธเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจพอเพียง                                                  3(3-0-6)

             (Buddhist Economics and Sufficiency Economy)

1700 100 การจัดการธุรกิจสมัยใหม่ (Modern Business Management)                        3(3-0-6)

1703 110 ทักษะการเงินในชีวิตประจำวัน (Finance Skills in Daily Life)                         3(3-0-6)

                   1.3.3 กลุ่มพลศึกษา                                    ไม่น้อยกว่า       1 หน่วยกิต

1439 100 การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Exercise for Health)                                  1(0-2-1)

1439 101 กีฬาเพื่อสุขภาพ (Sports for Health)                                                   1(0-2-1)



          2.  หมวดวิชาเฉพาะ                                            ไม่น้อยกว่า       99 หน่วยกิต

              2.1 กลุ่มวิชาเอกบังคับ                                     จำนวน           27 หน่วยกิต

1454 141 ประวัติศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (History of Mekong Region)                        3(3-0-6)

1454 151 ภูมิศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Geography of Mekong Region)                       3(3-0-6)

1454 191 การอ่านและการเขียนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                               3(3-0-6)

            (Reading and Writing in Mekong Region)

1454 271 มรดกร่วมทางวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                                 3(3-0-6)

            (Common Cultural Heritage in Mekong Region)

1454 281 การเมืองการปกครองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                                3(3-0-6)

            (Politics and Government in Mekong Region)

1454 282 เศรษฐกิจภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Economy of Mekong Region)                          3(3-0-6)

1454 311 ปริทรรศน์ภาษาและวรรณกรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                       3(3-0-6)

            (Introduction to Languages and Literature in Mekong Region)

1454 491 แนวทางการวิจัยภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                  3(3-0-6)

            (Approaches to Mekong Region Languages and Cultures Research)

ให้นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาดังต่อไปนี้จำนวน 1 รายวิชา

1454 493 การศึกษาอิสระ (Independent Study)                                                  3(3-0-6)

หรือ

1454 494 การฝึกงาน (Practical Training)                                                        3(3-0-6)



              2.2  กลุ่มวิชาเอกบังคับเลือก                               จำนวน           36 หน่วยกิต

                    1) กลุ่มวิชาเอกภาษาและวัฒนธรรมไทย

                   เป็นวิชาเอกสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติเท่านั้น

1454 101 ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 1 (Thai for Foreigners I)                          3(2-2-5)

1454 102 ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 2 (Thai for Foreigners II)                         3(2-2-5)

1454 201 ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 3 (Thai for Foreigners III)                        3(2-2-5)

1454 202 ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 4 (Thai for Foreigners IV)                         3(2-2-5)

1454 303 สนทนาภาษาไทย (Thai Conversation)                                                          3(2-2-5)

1454 304 ภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยว (Thai for Tourism)                                       3(3-0-6)

1454 305 ภาษาไทยธุรกิจสำหรับชาวต่างประเทศ (Business Thai for Foreigners)            3(3-0-6)

1454 306 ภาษาไทยวิชาการ (Academic Thai)                                                    3(3-0-6)

1454 403 การแปลภาษาไทย (Thai Translation)                                                  3(2-2-5)

1454 404 การล่ามภาษาไทย (Thai Interpretation)                                               3(2-2-5)

1411 160 วรรณกรรมศึกษา (Literary Studies)                                                    3(3-0-6)

1411 370 คติชนวิทยา (Folklore)                                                                   3(3-0-6)

หรือ

2) กลุ่มวิชาเอกภาษาและวัฒนธรรมลาว

1412 101 ภาษาลาว 1 (Lao I)                                                                       3(2-2-5)

1412 102 ภาษาลาว 2 (Lao II)                                                                       3(2-2-5)

1412 201 ภาษาลาว 3 (Lao III)                                                                      3(2-2-5)

1412 202 ภาษาลาว 4 (Lao IV)                                                                     3(2-2-5)

1412 311 สนทนาภาษาลาว (Lao Conversation)                                                 3(2-2-5)

1412 303 ภาษาลาวเพื่อการท่องเที่ยว (Lao for Tourism)                                        3(3-0-6)

1412 321 ภาษาลาวธุรกิจ (Lao for Business)                                                    3(3-0-6)

1412 421 การแปลภาษาลาว 1 (Lao Translation I)                                              3(2-2-5)

1412 422 การแปลภาษาลาว 2 (Lao Translation II)                                              3(2-2-5)

1412 411 การล่ามภาษาลาว (Lao Interpretation)                                               3(2-2-5)

1412 341 วรรณกรรมลาว (Lao Literature)                                                       3(3-0-6)

1412 441 คติชนวิทยาลาว (Lao Folklore)                                                         3(3-0-6)

หรือ

 3) กลุ่มวิชาเอกภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม

1413 101 ภาษาเวียดนาม 1 (Vietnamese I)                                                      3(2-2-5)

1413 102 ภาษาเวียดนาม 2 (Vietnamese II)                                                     3(2-2-5)

1413 201 ภาษาเวียดนาม 3 (Vietnamese III)                                                     3(2-2-5)

1413 202 ภาษาเวียดนาม 4 (Vietnamese IV)                                                     3(2-2-5)

1413 312 สนทนาภาษาเวียดนาม (Vietnamese Conversation)                                 3(2-2-5)

1413 463 ภาษาเวียดนามเพื่อการท่องเที่ยว (Vietnamese for Tourism)                        3(3-0-6)

1413 464 ภาษาเวียดนามธุรกิจ (Business Vietnamese)                                          3(3-0-6)

1413 323 การแปลภาษาเวียดนาม 1 (Vietnamese Translation I)                              3(2-2-5)

1413 324 การแปลภาษาเวียดนาม 2 (Vietnamese Translation II)                             3(2-2-5)

1413 461 การล่ามภาษาเวียดนาม (Vietnamese Interpretation)                               3(2-2-5)

1413 341 วรรณกรรมเวียดนาม (Vietnamese Literature)                                       3(3-0-6)

1413 344 คติชนวิทยาเวียดนาม (Vietnamese Folklore)                                         3(3-0-6)

หรือ

 4) กลุ่มวิชาเอกภาษาและวัฒนธรรมกัมพูชา

1414 101 ภาษาเขมร 1 (Khmer I)                                                                  3(2-2-5)

1414 102 ภาษาเขมร 2 (Khmer II)                                                                 3(2-2-5)

1414 201 ภาษาเขมร 3 (Khmer III)                                                                 3(2-2-5)

1414 202 ภาษาเขมร 4 (Khmer IV)                                                                3(2-2-5)

1414 311 สนทนาภาษาเขมร (Khmer Conversation)                                            3(2-2-5)

1414 303 ภาษาเขมรเพื่อการท่องเที่ยว (Khmer for Tourism)                                   3(3-0-6)

1414 321 ภาษาเขมรธุรกิจ (Khmer for Business)                                                3(3-0-6)

1414 421 การแปลภาษาเขมร 1 (Khmer Translation I)                                         3(2-2-5)

1414 422 การแปลภาษาเขมร 2 (Khmer Translation II)                                         3(2-2-5)

1414 411 การล่ามภาษาเขมร (Khmer Interpretation)                                          3(2-2-5)

1414 341 วรรณกรรมเขมร (Khmer Literature)                                                  3(3-0-6)

1414 441 คติชนวิทยาเขมร (Khmer Folklore)                                                    3(3-0-6)

หรือ

 5) กลุ่มวิชาเอกภาษาและวัฒนธรรมจีน

1415 101 ภาษาจีน 1 (Chinese I)                                                                  3(2-2-5)

1415 102 ภาษาจีน 2 (Chinese II)                                                                 3(2-2-5)

1415 201 ภาษาจีน 3 (Chinese III)                                                                 3(2-2-5)

1415 202 ภาษาจีน 4 (Chinese IV)                                                                3(2-2-5)

1415 213 สนทนาภาษาจีน  (Chinese Conversation)                                           3(2-2-5)

1415 371 ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว 1 (Chinese for Tourism I)                               3(2-2-5)

1415 472 ภาษาจีนเพื่อธุรกิจ (Business Chinese)                                                          3(3-0-6)

1415 241 การแปลจีน-ไทย 1 (Translation: Chinese-Thai I)                                    3(3-0-6)

1415 342 การแปลจีน-ไทย 2 (Translation: Chinese-Thai II)                                   3(3-0-6)

1415 341 การแปลไทย-จีน 1 (Translation: Thai-Chinese I)                                    3(3-0-6)

1415 281 วัฒนธรรมจีน (Chinese Culture)                                                       3(3-0-6)

1415 462 วรรณกรรมจีนร่วมสมัย (Contemporary Chinese Literature)                       3(3-0-6)







              2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก                                      ไม่น้อยกว่า       18 หน่วยกิต

1454 231 ปรัชญา ศาสนา และความเชื่อในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                      3(3-0-6)

            (Philosophy, Religions, and Beliefs in Mekong Region)

1454 261 ดนตรีและการแสดงในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                                  3(3-0-6)

            (Music and Performance in Mekong Region)

1454 331 ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                                    3(3-0-6)

            (Local Wisdom in Mekong Region)

1454 371 กลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                                         3(3-0-6)

            (Ethnic Groups in Mekong Region)

1454 381 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                        3(3-0-6)

            (International Relations in Mekong Region)

1454 382 ระบบกฎหมายในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                                       3(3-0-6)

            (Legal Systems in Mekong Region)

1454 421 ภาพยนตร์ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                                            3(3-0-6)

            (Films in Mekong Region)

1454 451 นิเวศวิทยาในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                                           3(3-0-6)

            (Ecology in Mekong Region)

1454 481 ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับสังคมโลก                                                            3(3-0-6)

            (Mekong Region and Global Society)



หมายเหตุ         นอกเหนือจากรายวิชาที่กำหนดให้ในกลุ่ม ข.3 กลุ่มวิชาเอกเลือกนี้ นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาทางด้านวัฒนธรรมเฉพาะประเทศ (ที่สอดคล้องกับวิชาภาษาที่นักศึกษาเลือกเรียนในหมวดวิชาเอกเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง) จากรายวิชาในทุกหลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หรืออาจเป็นรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยเครือข่ายภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและต้องการโอนกลับมาเป็นหน่วยกิตสะสมในหลักสูตร ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

              2.4 กลุ่มวิชาโท                                             ไม่น้อยกว่า       18 หน่วยกิต

                    นักศึกษาสามารถเลือกเรียนหลักสูตรวิชาโทระดับปริญญาตรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต                        



          3. หมวดวิชาเลือกเสรี                                           ไม่น้อยกว่า       6 หน่วยกิต

                   นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ที่สนใจหรือรายวิชาที่มหาวิทยาลัยประกาศเป็นรายวิชาเลือกเสรี จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต









3.1.4 หลักสูตรวิชาโทภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

          นักศึกษาในทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีสามารถลงทะเบียนเรียนวิชาโทภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้ โดยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้



              ก. จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 18  หน่วยกิต



              ข. โครงสร้างหลักสูตร



1. กลุ่มวิชาโทบังคับ  
      1.1 กลุ่มภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
      1.2. กลุ่มวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ไม่น้อยกว่า
จำนวน
ไม่น้อยกว่า
12
6
6
หน่วยกิต
หน่วยกิต
หน่วยกิต
              2. กลุ่มวิชาโทเลือก
ไม่น้อยกว่า
6
หน่วยกิต
รวมจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า
18
หน่วยกิต

 



              ค. รายวิชาในหลักสูตร 

1.  กลุ่มวิชาโทบังคับ                             จำนวน         12     หน่วยกิต

1.1 กลุ่มภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง            ไม่น้อยกว่า       6     หน่วยกิต

ให้นักศึกษาเลือกเรียนกลุ่มภาษาใดภาษาหนึ่งดังต่อไปนี้ จำนวนไม่น้อยกว่า

6 หน่วยกิต

- กลุ่มภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ สำหรับนักศึกษาต่างชาติเท่านั้น

1454 101 ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 1 (Thai for Foreigners I)                          3(2-2-5)

1454 102 ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 2 (Thai for Foreigners II)                         3(2-2-5)

1454 201 ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 3 (Thai for Foreigners III)                        3(2-2-5)

1454 202 ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 4 (Thai for Foreigners IV)                        3(2-2-5)

1454 303 สนทนาภาษาไทย (Thai Conversation)                                                          3(2-2-5)

1454 304 ภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยว (Thai for Tourism)                                       3(3-0-6)

1454 305 ภาษาไทยธุรกิจสำหรับชาวต่างประเทศ (Business Thai for Foreigners)            3(3-0-6)

1454 306 ภาษาไทยวิชาการ (Academic Thai)                                                    3(3-0-6)

1454 403 การแปลภาษาไทย (Thai Translation)                                                  3(2-2-5)

1454 404 การล่ามภาษาไทย (Thai Interpretation)                                               3(2-2-5)

1411 160 วรรณกรรมศึกษา (Literary Studies)                                                    3(3-0-6)

1411 370 คติชนวิทยา (Folklore)                                                                   3(3-0-6)

- กลุ่มภาษาลาว

1412 101 ภาษาลาว 1 (Lao I)                                                                       3(2-2-5)

1412 102 ภาษาลาว 2 (Lao II)                                                                      3(2-2-5)

1412 201 ภาษาลาว 3 (Lao III)                                                                     3(2-2-5)

1412 202 ภาษาลาว 4 (Lao IV)                                                                    3(2-2-5)

1412 311 สนทนาภาษาลาว (Lao Conversation)                                                 3(2-2-5)

1412 303 ภาษาลาวเพื่อการท่องเที่ยว (Lao for Tourism)                                        3(3-0-6)

1412 321 ภาษาลาวธุรกิจ (Lao for Business)                                                     3(3-0-6)

1412 421 การแปลภาษาลาว 1 (Lao Translation I)                                              3(2-2-5)

1412 422 การแปลภาษาลาว 2 (Lao Translation II)                                              3(2-2-5)

1412 411 การล่ามภาษาลาว (Lao Interpretation)                                               3(2-2-5)

1412 341 วรรณกรรมลาว (Lao Literature)                                                       3(3-0-6)

1412 441 คติชนวิทยาลาว (Lao Folklore)

- กลุ่มภาษาเวียดนาม

1413 101 ภาษาเวียดนาม 1 (Vietnamese I)                                                      3(2-2-5)

1413 102 ภาษาเวียดนาม 2 (Vietnamese II)                                                      3(2-2-5)

1413 201 ภาษาเวียดนาม 3 (Vietnamese III)                                                     3(2-2-5)

1413 202 ภาษาเวียดนาม 4 (Vietnamese IV)                                                     3(2-2-5)

1413 312 สนทนาภาษาเวียดนาม (Vietnamese Conversation)                                 3(2-2-5)

1413 463 ภาษาเวียดนามเพื่อการท่องเที่ยว (Vietnamese for Tourism)                        3(3-0-6)

1413 464 ภาษาเวียดนามธุรกิจ (Business Vietnamese)                                          3(3-0-6)

1413 323 การแปลภาษาเวียดนาม 1 (Vietnamese Translation I)                              3(2-2-5)

1413 323 การแปลภาษาเวียดนาม 2 (Vietnamese Translation II)                             3(2-2-5)

1413 461 การล่ามภาษาเวียดนาม (Vietnamese Interpretation)                               3(2-2-5)

1413 341 วรรณกรรมเวียดนาม (Vietnamese Literature)                                       3(3-0-6)

1413 344 คติชนวิทยาเวียดนาม (Vietnamese Folklore)                                         3(3-0-6)

- กลุ่มภาษาเขมร

1414 101 ภาษาเขมร 1 (Khmer I)                                                                 3(2-2-5)

1414 102 ภาษาเขมร 2 (Khmer II)                                                                 3(2-2-5)

1414 201 ภาษาเขมร 3 (Khmer III)                                                                3(2-2-5)

1414 202 ภาษาเขมร 4 (Khmer IV)                                                                3(2-2-5)

1414 311 สนทนาภาษาเขมร (Khmer Conversation)                                            3(2-2-5)

1414 303 ภาษาเขมรเพื่อการท่องเที่ยว (Khmer for Tourism)                                   3(3-0-6)

1414 321 ภาษาเขมรธุรกิจ (Khmer for Business)                                                3(3-0-6)

1414 421 การแปลภาษาเขมร 1 (Khmer Translation I)                                         3(2-2-5)

1414 422 การแปลภาษาเขมร 2 (Khmer Translation II)                                         3(2-2-5)

1414 411 การล่ามภาษาเขมร (Khmer Interpretation)                                          3(2-2-5)

1414 341 วรรณกรรมเขมร (Khmer Literature)                                                  3(3-0-6)

1414 441 คติชนวิทยาเขมร (Khmer Folklore)                                                     3(3-0-6)

- กลุ่มภาษาจีน

1415 101 ภาษาจีน 1 (Chinese I)                                                                  3(2-2-5)

1415 102 ภาษาจีน 2 (Chinese II)                                                                 3(2-2-5)

1415 201 ภาษาจีน 3 (Chinese III)                                                                 3(2-2-5)

1415 202 ภาษาจีน 4 (Chinese IV)                                                                3(2-2-5)

1415 213 สนทนาภาษาจีน  (Chinese Conversation)                                           3(2-2-5)

1415 371 ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว 1 (Chinese for Tourism I)                               3(2-2-5)

1415 472 ภาษาจีนเพื่อธุรกิจ (Business Chinese)                                                          3(3-0-6)

1415 241 การแปลจีน-ไทย 1 (Translation: Chinese-Thai I)                                    3(3-0-6)

1415 342 การแปลจีน-ไทย 2 (Translation: Chinese-Thai II)                                   3(3-0-6)

1415 341 การแปลไทย-จีน 1 (Translation: Thai-Chinese I)                                    3(3-0-6)

1415 281 วัฒนธรรมจีน (Chinese Culture)                                                       3(3-0-6)

1415 462 วรรณกรรมจีนร่วมสมัย (Contemporary Chinese Literature)                      3(3-0-6)



1.2 กลุ่มวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง       จำนวน           6      หน่วยกิต

ให้นักศึกษาเรียนรายวิชาดังต่อไปนี้

1454 141 ประวัติศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (History of Mekong Region)                       3(3-0-6)

1454 481 ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับสังคมโลก (Mekong Region and Global Society)              3(3-0-6)



                     2. กลุ่มวิชาโทเลือก                               ไม่น้อยกว่า       6      หน่วยกิต

 ให้นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาดังต่อไปนี้ จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

1454 151 ภูมิศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Geography of Mekong Region)                       3(3-0-6)

1454 271 มรดกร่วมทางวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                                 3(3-0-6)

            (Common Cultural Heritage in Mekong Region)

1454 281 การเมืองการปกครองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                                3(3-0-6)

            (Politics and Government in Mekong Region)

1454 282 เศรษฐกิจภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Economy of Mekong Region)                          3(3-0-6)

1454 311 ปริทรรศน์ภาษาและวรรณกรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                       3(3-0-6)

            (Introduction to Languages and Literature in Mekong Region)

1454 231 ปรัชญา ศาสนา และความเชื่อในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                      3(3-0-6)

            (Philosophy, Religions, and Beliefs in Mekong Region)

1454 261 ดนตรีและการแสดงในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                                  3(3-0-6)

            (Music and Performance in Mekong Region)

1454 331 ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Local Wisdom in Mekong Region)        3(3-0-6)

1454 371 กลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Ethnic Groups in Mekong Region)             3(3-0-6)

1454 381 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                                        3(3-0-6)

            (International Relations in Mekong Region)

1454 382 ระบบกฎหมายในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Legal Systems in Mekong Region)           3(3-0-6)

1454 421 ภาพยนตร์ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Films in Mekong Region)                           3(3-0-6)

1454 451 นิเวศวิทยาในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Ecology in Mekong Region)                        3(3-0-6)



3.1.5 แผนการศึกษาวิชาเอกภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง





ชั้นปีที่  1  (First Year)

ภาคการศึกษาต้น  (First Semester)



หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ศึกษาทั่วไป
XXXX XXX หมวดวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
3(3-0-6)
1411 101 ภาษาไทยกับการสื่อสาร 
(Thai Language and Communication)
3(3-0-6)
1421 102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1  (Foundation English I)
3(3-0-6)
ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้  1 รายวิชา
1439 100 การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Exercise for Health)
1439 101 กีฬาเพื่อสุขภาพ (Sports for Health)

1(0-2-1)
1(0-2-1)
เฉพาะ
1454 151 ภูมิศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(Geography of Mekong Region)
3(3-0-6)
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (1)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
16 หน่วยกิต





ภาคการศึกษาปลาย  (Second Semester)



หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ศึกษาทั่วไป
XXXX XXX หมวดวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์
3(3-0-6)
XXXX XXX หมวดวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
3(3-0-6)
1421 103 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2  (Foundation English II)
3(3-0-6)
เฉพาะ
1454 141 ประวัติศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(History of Mekong Region)
3(3-0-6)
1454 191 การอ่านและการเขียนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(Reading and Writing in Mekong Region)
3(3-0-6)
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (2)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
18 หน่วยกิต





ชั้นปีที่  2  (Second Year)

ภาคการศึกษาต้น  (First Semester)



หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ศึกษาทั่วไป
XXXX XXX หมวดวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์
3(3-0-6)
1421 208 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (Academic English)
3(3-0-6)
เฉพาะ
1454 271 มรดกร่วมทางวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(Common Cultural Heritage in Mekong Region)       
3(3-0-6)
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (3)
3(X-X-X)
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (4)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาโท (1)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
18 หน่วยกิต





ภาคการศึกษาปลาย  (Second Semester)



หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ศึกษาทั่วไป
XXXX XXX หมวดวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์
3(3-0-6)

1421 406 ภาษาอังกฤษสำหรับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (English for Humanities and Social Sciences)

3(3-0-6)
เฉพาะ
1454 281 การเมืองการปกครองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(Politics and Government in Mekong Region)
3(3-0-6)
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (5)
3(X-X-X)
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (6)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาโท (2)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
18 หน่วยกิต















ชั้นปีที่  3  (Third Year)

ภาคการศึกษาต้น  (First Semester)



หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
เฉพาะ
1454 282 เศรษฐกิจภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(Economy of Mekong Region)
3(3-0-6)
1454 311 ปริทรรศน์ภาษาและวรรณกรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง(Introduction to Languages and Literature in Mekong Region)
3(3-0-6)
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (7)
3(X-X-X)
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (8)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาโท (3)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาโท (4)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
18 หน่วยกิต





ภาคการศึกษาปลาย  (Second Semester)



หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
เฉพาะ
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (9)
3(X-X-X)
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (10)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาเอกเลือก (1)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาเอกเลือก (2)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
12 หน่วยกิต



หมายเหตุ        1. สำหรับการศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 นักศึกษาจะต้องเดินทางไปศึกษาในมหาวิทยาลัยเครือข่ายภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (2 ภาคการศึกษา) ช่วงระยะเวลา 9 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนมิถุนายน เพื่อศึกษาวิชาภาษาและวิชาวัฒนธรรมเฉพาะประเทศลุ่มน้ำโขงและให้เทียบโอนหน่วยกิตกลับมามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ยกเว้นนักศึกษาที่เลือกวิชาเอกภาษาและวัฒนธรรมไทยที่เรียนตลอดภาคการศึกษาที่ 2 ในประเทศไทย) 

2. รายวิชา 1454 494 การฝึกงาน ให้นักศึกษาเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 ภาคฤดูร้อนเป็นต้นไป แต่ให้ลงทะเบียนเรียนในชั้นปีที่ 4 ภาคการเรียนที่ 2



ชั้นปีที่  4  (Forth Year)

ภาคการศึกษาต้น  (First Semester)



หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
เฉพาะ
1454 491 แนวทางการวิจัยภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง(Approaches to Mekong Region Languages and Cultures Research)
3(3-0-6)
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (11)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาเอกเลือก (3)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาเอกเลือก (4)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาโท (5)
3(X-X-X)
เลือกเสรี
XXXX XXX วิชาเลือกเสรี (1)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
18 หน่วยกิต





ภาคการศึกษาปลาย  (Second Semester)



หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
เฉพาะ
1454 493 การศึกษาอิสระ (Independent Study)  
หรือ
1454 494 การฝึกงาน (Practical Training)
3(3-0-6)

3(3-0-6)
14XX XXX วิชาเอกบังคับเลือกภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (12)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาเอกเลือก (5)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาเอกเลือก (6)
3(X-X-X)
XXXX XXX วิชาโท (6)
3(X-X-X)
เลือกเสรี
XXXX XXX วิชาเลือกเสรี (2)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
18 หน่วยกิต













          3.1.6  แผนการเรียนหลักสูตรวิชาโทภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง



ชั้นปีที่   (Second Year(

ภาคการศึกษาต้น  (First Semester(

หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
เฉพาะ
14XX XXX กลุ่มภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (1)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
3 หน่วยกิต





ภาคการศึกษาปลาย  Second Semester(

หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
เฉพาะ
14XX XXX กลุ่มภาษาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (2)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
3 หน่วยกิต



                        

ชั้นปีที่ 3 (Third Year(

ภาคการศึกษาต้น  (First Semester(

หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
เฉพาะ
1454 141 ประวัติศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง                  
3(X-X-X)

รวม  (Total)
3 หน่วยกิต





ภาคการศึกษาปลาย  (Second Semester(

หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
เฉพาะ
1454 481 ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับสังคมโลก
3(X-X-X)

รวม  (Total)
3 หน่วยกิต





ชั้นปีที่ 4 (Fourth Year(

ภาคการศึกษาต้น  (First Semester(

หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
เฉพาะ
1454 XXX วิชาโทเลือก (1)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
3 หน่วยกิต

                





ชั้นปีที่ 4   (Fourth Year(

ภาคการศึกษาปลาย  (Second Semester(

หมวดวิชา
รหัสและชื่อวิชา
หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
เฉพาะ
1454 XXX วิชาโทเลือก (2)
3(X-X-X)

รวม  (Total)
3 หน่วยกิต



                





































4.  องค์ประกอบเกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม (การฝึกงาน)

          นักศึกษาที่เลือกความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพจะต้องเรียนรายวิชา 1454 494 การฝึกงาน เป็นวิชาบังคับ ตั้งแต่การศึกษาภาคฤดูร้อน ชั้นปีที่ 3 เป็นต้นไป โดยให้มีการฝึกงานในหน่วยงานภาครัฐหรือสถานประกอบการเอกชน

          โดยนักศึกษาสามารถเลือกปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆในหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชนตามความต้องการของหน่วยงานนั้นๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 160 ชั่วโมง หรือประมาณ 1 เดือน

    4.1  มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม

          4.1.1 เข้าใจระบบการทำงานที่ปฏิบัติ

          4.1.2 มีพัฒนาการของการปฏิบัติงานในเชิงประสิทธิภาพ

          4.1.3 มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน

          4.1.4 มีจิตบริการ จิตสาธารณะ การทำงานเป็นกลุ่ม

    4.2  ช่วงเวลา          :  ตั้งแต่ภาคการศึกษาภาคฤดูร้อน ชั้นปีที่ 3 เป็นต้นไป

    4.3  การจัดเวลาและตารางสอน :  ช่วงภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 จำนวน 4 สัปดาห์



5.  ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำโครงงานหรืองานวิจัย

          นักศึกษาที่เลือกความเชี่ยวชาญด้านวิชาการจะต้องเรียนรายวิชา 1454 493 การศึกษาอิสระ เป็นวิชาบังคับในชั้นปีที่ 4 โดยนักศึกษาฝึกทำงานวิจัยขนาดเล็กภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา

    5.1 ในการทำวิจัยในรายวิชานั้น นักศึกษาจะนำเสนอหัวข้อวิจัยในขอบเขตภาษาหรือวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาภายใต้การเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร นักศึกษาเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และเรียบเรียงเป็นรายงานวิจัย พร้อมด้วยการเขียนบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยจำนวน 1 ชิ้น  นักศึกษาสอบปากเปล่างานวิจัยโดยการนำเสนอผลงานในที่สาธารณะ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบงานศึกษาอิสระจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ท่าน

    5.2   มาตรฐานผลการเรียนรู้  : 

         5.2.1  มีองค์ความรู้จากการวิจัย

                   5.2.2  สามารถแก้ไขปัญหาโดยวิธีวิจัย

                   5.2.3  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล

                   5.2.4  สามารถนำเสนอและสื่อสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียน

    5.3  ช่วงเวลา :  ภาคการศึกษาปลาย ชั้นปีที่ 4

    5.4  จำนวนหน่วยกิต 3 หน่วยกิต หรือ จำนวนชั่วโมง 3 ชั่วโมงภายการดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา และค้นคว้าด้วยตนเองจำนวน 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

    5.5   การเตรียมการ การให้คำแนะนำช่วยเหลือทางวิชาการแก่นักศึกษา เช่น

                   5.5.1 อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำนักศึกษา โดยให้นักศึกษาเป็นผู้เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาและหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ

                   5.5.2 อาจารย์ที่ปรึกษาจัดตารางเวลาการให้คำปรึกษาและการติดตามการทำงานของนักศึกษา

    5.6   กระบวนการประเมินผล กระบวนการประเมินผล กลไกการทวนสอบมาตรฐาน เช่น

                   5.6.1  ประเมินคุณภาพงานวิจัยโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอีกไม่น้อยกว่า 1 ท่าน

         5.6.2  ประเมินความก้าวหน้าในระหว่างการทำวิจัยโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำวิชา อย่างน้อยอีก 1 คน โดยการรายงานความก้าวหน้าต่อสาธารณะไม่น้อยกว่า 1 ครั้งและเขียนรายงานส่งอาจารย์ที่ปรึกษา
          5.6.3  ประเมินผลการทำงานของนักศึกษาในภาพรวม จากการติดตามการทำงาน ผลงานที่เกิดในแต่ละขั้นตอน และรายงานโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการอีกไม่น้อยกว่า 1 ท่านที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น